เว็บล่ม เว็บโดนแฮก สาเหตุเกิดจากอะไร มีเครื่องมือคอยเฝ้าระวังหรือไม่
26 มกราคม 2022
เซิร์ฟเวอร์ล่ม หรือเว็บไซต์ Down บ่อยครั้งไม่ใช่แค่ Server หยุดทำงานเพราะความผิดพลาดเพียงอย่างเดียว อาจมาจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งภัยทางไซเบอร์นั้น ณ ปัจจุบันก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่อาจทราบได้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นเมื่อไหร่ และโจมตีมาจากที่ไหน กว่าจะรู้ว่าเว็บไซต์ล่ม หรือถูกโจมตี เปลี่ยนแปลงหน้าเว็บ ก็ตกเป็นข่าวและเกิดความเสียหายจนแก้ไขได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือให้บริการประชาชน เช่น สถาบันการเงิน หน่วยงานราชการ รัฐวิสหากิจ บริษัทเอกชน รวมไปถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มี Platform online ต่างตกเป็นเป้าหมายสำคัญของแฮกเกอร์ในการสร้างชื่อเสียงของตนเอง ในเบื้องต้น การที่เว็บล่มนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น
- มีคนเข้าใช้งานมากเกินความสามารถของ Server และ Application
- โดน Hack หน้าเว็บ Redirect ไปเว็บอื่นของแฮกเกอร์ จนไม่สามารถให้บริการได้
- โดนเปลี่ยน code เว็บ ใน Server เพื่อให้แสดงผลผิดพลาด
- โดน DDoS Attack
- เว็บเข้าได้ แต่โดนแฮกเกอร์เปลี่ยนหน้าเว็บ
ซึ่งสาเหตุบางอย่างนั้น สามารถป้องกันได้ แต่ก็อาจเกิดขึ้นโดยที่ทีมงานที่ดูแลไม่รู้ตัวได้เช่นกัน
หากโดนแฮกเกอร์โจมตีหรือแฮกเว็บไซต์ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
- คู่ค้าหรือลูกค้าจะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบผ่าน Web Application ทำให้สูญเสียรายได
- และอาจส่งผลไปยังรายได้จากการ ยกเลิกการใช้บริการ จนถึงขั้นสูญเสียฐานข้อมูลสำคัญต่าง ๆ
- มีความเสี่ยงข้อมูลสำคัญภายในรั่วไหล ในกรณีนี้แฮกเกอร์อาจใช้มัลแวร์ประเภทอื่นเข้ามาช่วยในการขโมยข้อมูล (Spyware) และเรียกค่าไถ่ ( Ransomware) จากช่องโหว่ของเว็บเดิมที่มี
- รู้ว่าโดนแฮกเปลี่ยนหน้าเว็บช้า จนเกิดผลเสียยาวนานยิ่งขึ้น
แฮกเกอร์ใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการโจมตี
ซึ่งภัยคุกคามด้านเว็บไซต์ที่เราพบเห็นได้บ่อยคือ Web Application Hacking และ DDoS Attack โดยทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นภัยไซเบอร์ที่แฮกเกอร์ใช้โจมตีมากที่สุด อธิบายลักษณะได้ดังนี้
- Web Application Hacking
ภัยจากแฮกเกอร์ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ให้ไม่สามารถใช้งานได้ จุดประสงค์เพื่อการก่อกวน สร้างความสนุก หรือแอบเข้ามาฝังตัวเพื่อล้วงข้อมูลสำคัญ ตัวอย่างเช่น ข่าว แฮกเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ชื่อว่า Kangaroo Court
- DDoS Attack
แฮกเกอร์จะใช้ Botnet โจมตีเซิร์ฟเวอร์ของเหยื่อให้ทำงานช้าลงเรื่อย ๆ จนหยุดการทำงานไปในที่สุด ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานที่กำลังเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์นั้น จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ต่อได้อีก เช่น ข่าว เว็บไซต์ไปรษณีย์และธนาคารหลายแห่งในนิวซีแลนด์ล่ม หลังถูกโจมตีด้วย DDoS Attack
จากภัยไซเบอร์ที่กล่าวมานั้น นับได้ว่าทุกขนาดของธุรกิจ ทั้งบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ จะต้องให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี ดังนั้น จึงควรมีระบบไอทีและอุปกรณ์ป้องกันที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงอบรมพนักงานให้ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อยู่เสมอ เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือในกรณีถูกโจมตีและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามถึงแม้ระบบและบุคลากรจะพร้อมรับมือกับภัยต่างๆได้หลายรูปแบบ
แต่ไม่อาจมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัย 100% เพราะแฮกเกอร์จะพัฒนาและหาวิธีเพื่อเข้าโจมตีอยู่เสมอการมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้คำปรึกษา ตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์ ให้กับองค์กรก็จะช่วยลดความเสี่ยงการถูกโจมตีเว็บไซต์ที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าตรวจสอบสถานะความปลอดภัยเว็บไซต์ NT cyfence เรามีบริการ Web monitoring ที่ให้บริการเฝ้าระวังเว็บไซต์แบบ Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้บริการไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือซอฟแวร์ใดๆ ในระบบหรือเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์เพียงแค่อนุญาตให้ระบบ Web Monitoring สามารถเข้าไปยังในเว็บไซต์ของผู้ใช้บริการผ่านทาง Internet เท่านั้น จากนั้นระบบจะคอยตรวจจับพร้อมแจ้งเตือนทันทีหากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริการ Web Monitoring
สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่เปิดการใช้บริการภายใน 30 มิ.ย. 2565 นี้ จะได้รับโปรโมชันลดสูงสุด 30% ทันที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ NT Contact Center 1888 และ E-mail ได้ที่ https://www.cyfence.com/contact-us/
บทความที่เกี่ยวข้อง