TV อัจฉริยะ กับเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

30 ตุลาคม 2012

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

ความคิดที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้ในอดีตที่ผ่านมา คงต้องกลับมาพิจารณากันใหม่ว่าอะไรบ้างที่มนุษย์นั้นทำไม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดไปไกลจนแทบจะไล่ตามไม่ทัน ทุกสิ่งในการใช้ชีวิตล้วนเกี่ยวโยงกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจากการสรรค์สร้างของมนุษย์ทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อและความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทั้ง Smartphone Tablet หรือแม้กระทั่ง Smart TV ที่มีฟังก์ชั่นล้ำสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานแบบครบวงจร เพราะแค่ความคมชัดของภาพ หรือแม้แต่ดีไซน์รูปลักษณ์ภายนอก คงไม่เพียงพอในการสร้างความแตกต่างให้อยู่เหนือคู่แข่งในตลาดได้ ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตทุกรายได้พยายามพัฒนาคุณภาพหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดใจผู้บริโภคให้มากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาฟีเจอร์หรือความสามารถพิเศษใหม่ๆ จึงถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการสร้างความแตกต่างและตอบสนองตรงความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด  อาทิเช่น “Smart Interaction” การใช้คำสั่งผ่านการควบคุมด้วย เสียง การเคลื่อนไหว และการจดจำใบหน้าเพื่อ Log in เข้าใช้งานบริการต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออีกหนึ่งฟีเจอร์ยอดฮิต “Smart Content” อัจฉริยะแห่งการจัดเนื้อหาให้ตรงใจและเหมาะสมกับวัยของผู้ใช้ และการเชื่อมต่อทุกมุมโลกด้วยระบบเน็ตเวิร์คไร้สายเพื่อการเชื่อมต่อที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ที่มาพร้อมกับความสามารถในการแชร์ไฟล์ข้ามอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี DLNA หรือ Digital Living Network Alliance ที่กำเนิดขึ้นเมื่อปี 2003 โดยประโยชน์ของ DLNA มีเพื่อช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดไว้ด้วยกันผ่าน Wi-Fi ซึ่งสามารถถ่ายโอนข้อมูลแบบไร้สาย ลดความยุ่งยากในการส่งข้อมูลต่างๆ อาทิ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่พัฒนา App ขึ้นเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีนี้ ไม่ว่าจะเป็น LG ที่ใช้ชื่อว่า Smart Share หรือ Samsung ที่ใช้ชื่อว่า Allshare หรือแม้แต่ Apple เองก็ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้ โดยการใช้งานผ่าน App เช่น Air sharing หรือ Air Display เพื่อเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi ระหว่างอุปกรณ์ของ Apple เช่น iPhone iPad หรือ Apple TV เป็นต้น

“ภัย” ที่เกิดจาก TV อันชาญฉลาด

ด้วยความสามารถของ Smart TV ในการเชื่อมต่อและการแชร์ไฟล์เพื่อรับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi นั้น ภัยแฝงที่อาจจะเกิดขึ้นกับการใช้งานของ Smart TV อาทิเช่น การถูกบันทึกภาพขณะประชุมจากตัวกล้องที่อยู่ใน Smart TV แล้วนำขึ้น Social Network หรือแม้กระทั่งการแอบส่งข้อมูลสำคัญให้กับ Hacker โดย Virus หรือ Trojan ที่แฝงตัวมากับแอพพลิเคชั่นที่ถูกดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ เนื่องจากความง่ายต่อการเข้าถึง อีกทั้งยังเป็นเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าที่มีกันแทบทุกบ้าน เมื่ออุปกรณ์สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ความปลอดภัยและภัยแฝงที่มากับฟีเจอร์ใหม่ๆก็ไม่ควรถูกมองข้ามเช่นกัน ดังนั้นการเชื่อมต่อ Smart TV กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสียหายหรือการก่อกวนจากผู้ไม่หวังดี นอกจากนี้ผู้ใช้งานเองก็ยังต้องศึกษาการใช้งานอย่างถูกวิธีด้วย

ใช้งานอย่างไรให้ปลอดภัย

แม้ว่าประโยชน์ของ Smart TV ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการในปัจจุบันจะสร้างความสะดวกสบายและความบันเทิงแก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันภัยแฝงดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ชมจำนวนมาก เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่รัฐสภา ดังนั้น แนวทางการป้องกันภัยแฝงต่างๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 Smart TV

  • ควรปิดการทำงานของฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Network หรือการแชร์ผ่าน Network เช่น AllShareทุกครั้งหลังจากการใช้งาน
  • ควรปิดการทำงาน Function ที่เป็น Wireless เมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกคุกคามจากผู้ไม่ประสงค์ดีผ่าน Wireless

 

ส่วนที่ 2 ระบบ Wi-Fi

  • ควรจำกัดและควบคุมการกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ครอบคลุมเฉพาะบริเวณที่อนุญาต
  • เปิดใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยหรือการเข้ารหัสของ Wi-Fi
  • ควรมีการจัดเก็บ Log การใช้งานจากอุปกรณ์ Wi-Fi ที่เปิดใช้งานทั้งหมด

 

ป้องกันไว้ก่อน ปลอดภัยกว่า

การใช้งาน Smart TV ผ่านระบบ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Smartphone หรือ Tablet นั้น การป้องกันและตรวจสอบระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาความปลอดภัยจากการใช้งาน อาทิเช่น การติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถระบุกลุ่มผู้ใช้หรือการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) หรือการเก็บ Log File จากอุปกรณ์ Wi-Fi เพื่อจัดเก็บข้อมูลการใช้งานในการหาผู้กระทำผิด รวมทั้งการตรวจสอบช่องโหว่ (Vulnerability Assessment) และทดสอบการบุกรุก (Penetration Test) ของระบบไอที เพื่อหาจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับระบบไอทีและการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน IT Security เพื่อออกแบบระบบไอทีให้มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความเสถียรภาพอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกไอทีนั้น ถือเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจต่อผู้ใช้งานในเรื่องของข้อมูลอันมีค่า หรือความเป็นส่วนตัว ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยระบบไอทีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาก่อกวน ทำลาย หรือโจรกรรมข้อมูลที่มีค่าของเราได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 25 ธันวาคม 2024

    ปัจจุบันระบบ AI (Artificial Intelligence) มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตหรือการขนส่ง รวมไปถึงในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญมากขึ้น เมื่อเหล่าแฮกเกอร์นำเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้มาใช้โจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เพราะ AI มีสามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อมูลอ้างอิงของ Check Point, Tanium, Darktrace และ Palo[...]

  • 20 ธันวาคม 2024

    LinkedIn แพลตฟอร์มที่กำลังนิยมในขณะนี้ ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทำ Phishing ซึ่งมีแนวโน้มว่าปี 2025 จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่แฮกเกอร์ใช้โจมตี

  • 18 พฤศจิกายน 2024

    การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เครื่องมือบางชนิดของผู้ใช้งานเกิดความผิดพลาดได้