ช็อปอย่างไรให้ปลอดภัย….บนโลกอินเทอร์เน็ต

31 มกราคม 2011

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

เมื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีบทบาทเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทยเพิ่มมากขึ้น จากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าอัตราผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 7 % เป็น 11 % ส่งผลให้การซื้อขายสินค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตก็มีการเจริญเติบโตตามไปด้วย

การซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตมีคำเรียกเฉพาะว่าอิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) คือการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตเข้ากับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยอินเทอร์เน็ตทำหน้าที่เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการ ไปสู่คนทั่วโลก ทำให้การดำเนินการซื้อขายเป็นไปอย่างสะดวกฉับไว

แต่สำหรับคนไทยนั้น พฤติกรรมของการซื้อสินค้าในลักษณะออนไลน์ หรือผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น อาจยังมีไม่มากนัก เทียบกับประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูงๆ เนื่องจาก ความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของช่องทางการชำระเงินออนไลน์นี่เอง ที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยอาจไม่ได้รับความนิยมมากนัก
อันตรายต่างๆที่มักจะเกิดขึ้นกับการช็อปปิ้งออนไลน์หรือการใช้สิ่งต่างๆที่อยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตนั่นก็คือ

อันตราย…ของราคาถูก นักช็อปปิ้งทั้งหลายมักจะชอบค้นหาคูปองส่วนลดและโปรโมชั่นต่างๆทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้คำนึงถึงว่า คูปองเหล่านี้เป็นช่องทางที่อาชญากรทางคอมพิวเตอร์หรือแฮกเกอร์มักใช้เพื่อหลอกล่อเหยื่อให้ทำการคลิ้กเข้าไปในคูปองหรือโปรโมชั่น ซึ่งเบื้องหลังนั้นจริงๆแล้ว ถูกแฝงไว้ด้วยลิ้งค์ที่เป็นอันตราย ซึ่งเมื่อนักช็อปทำการคลิ้กไปที่ลิ้งค์ดังกล่าวแล้ว ก็จะถูกหลอกให้ทำการป้อนข้อมูลส่วนตัวหรืออาจเป็นความลับของตนลงในเว็บไซต์ โดยแฮกเกอร์มักจะใช้วิธีนี้กับสินค้าที่เป็นที่นิยมและขายดี หรืออาจเป็นสินค้าหายากที่ไม่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด ทำให้ผู้ใช้อดใจไม่ได้ที่จะคลิกไปยังลิ้งค์ที่ปรากฏ

สำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงการช็อปปิ้งออนไลน์ไม่ได้จริงๆ วิธีป้องกันก็คือการติดตั้งโปรแกรมสำหรับบล็อคเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าสู่เว็บไซต์ที่อันตรายเหล่านี้ได้
อันตราย…บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีการ์ด ความนิยมของการส่งความสุขหรือการแสดงความยินดีในโอกาสเทศกาลต่างๆ เป็นไปอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จะเห็นได้จากช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา หลายๆท่านอาจจะได้รับอีเมล์ที่มีลิ้งค์ เพื่อให้เข้าไปคลิ๊กอ่านอีการ์ดที่ได้รับมาจากคนที่เรารู้จัก ซึ่งการส่งอีการ์ดนั้น ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่องทางที่สำคัญที่อีการ์ดที่คุณได้รับผ่านทางอีเมล์นั้นอาจไม่ได้มาจากคนที่คุณรู้จักจริงๆก็ได้ ซึ่งอีเมล์เหล่านี้เรียกว่าสแปม ซึ่งสแปมสามารถก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้ที่หลงเชื่อข้อความหรือลิ้งค์จากอีเมล์ได้ ดังนั้นการป้องกันก็คือการติดตั้ง Anti Spam ไว้ที่อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ เพื่อป้องกันการได้รับอีเมล์ที่อาจเป็นอันตรายได้

อันตราย…เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ โดยปกติอาชญากรคอมพิวเตอร์จะใช้วิธีล่อลวงเหยื่อ (ฟิชชิ่ง) ด้วยข้อความอีเมล์ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ แต่ว่าจริงๆ แล้วคือลิ้งค์ที่เป็นอันตราย จากนั้นลิ้งค์ดังกล่าวจะนำไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ปกติทั่วไป หากไม่สังเกตก็อาจจะตกเป็นเหยื่อ ป้อนข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับไป ภัยร้ายที่แฝงมากับอีเมล์ประเภทนี้สามารถป้องกันหรือโอกาสการเข้าถึงลิ้งค์ที่เป็นอันตรายได้ หากมีการติดตั้งหรือใช้บริการทางด้านความปลอดภัยของอีเมล์เพื่อกรองไม่ให้อีเมล์ฟิชชิ่งเข้ามาระบบ ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้ผู้ใช้บริการอีเมล์หลงไปเป็นเหยื่อของเว็บไซต์ฟิชชิ่งนั้นๆ

ซื้อสินค้าอย่างมั่นใจ…บนอินเทอร์เน็ต

จากที่กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อในการเลือกซื้อสินค้า แต่การซื้อสินค้าออนไลน์ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น ผู้ซื้อไม่ได้เห็นคุณภาพของสินค้าจริงหรือได้ทดลองใช้ก่อนซื้อ สินค้าที่ได้จึงอาจไม่ตรงกับที่ต้องการ แถมยังอาจแฝงมาด้วยอันตรายต่างๆที่เราคาดไม่ถึง ดังนั้นก่อนการสั่งซื้อสินค้าใดๆบนอินเทอร์เน็ต

ผู้ซื้อควรทราบข้อมูลต่อไปนี้
1. เรียนรู้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และผู้ขาย

สินค้าบนอินเตอร์เน็ตมีทั้งสินค้าใหม่และสินค้ามือสอง ควรตรวจสอบและเปรียบเทียบราคาจากร้านค้าอื่นๆ ก่อนการซื้อขาย หากเป็นสินค้ามือสองควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนการซื้อขายว่าเป็นดังที่ผู้ขายกล่าวอ้างจริง ควรเรียนรู้สินค้าที่จะซื้อก่อนว่าสินค้าควรมีสภาพอย่างไร สามารถทำอะไรได้บ้าง ควรสอบถามผู้ขายก่อนว่ามีตำหนิหรือชำรุดในส่วนใดบ้าง

สำหรับผู้ขายซึ่งในปัจจุบันผู้ขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตมีทั้งผู้ค้าที่เปิดเป็นร้านค้าจดทะเบียนพาณิชย์และผู้ขายมือสมัครเล่น ในกรณีแรกผู้ซื้อสินค้าก็จะมั่นใจได้ในระดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือของผู้ขายหรือการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ซื้อ ส่วนในกรณีหลัง ผู้ซื้ออาจเสี่ยงถูกโกงหรือได้รับสินค้าด้อยคุณภาพไม่ตรงตามที่ผู้ขายโฆษณา อาจลดความเสี่ยงนี้โดยการตรวจสอบประวัติการค้าขายสินค้าของผู้ขาย อาทิ ผู้ขายมีประวัติการส่งสินค้าล่าช้าหรือไม่ส่งบ้างหรือไม่ สินค้าชำรุดแล้วรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าหรือไม่ มีลูกค้าประจำหรือไม่
2. ตรวจสอบนโยบายการส่งสินค้า

ผู้ซื้อควรสอบถามผู้ขายให้แน่ใจก่อนการซื้อขายสินค้าว่าจะส่งสินค้าแบบใด ราคาสินค้ารวมค่าจัดส่งไว้ด้วยหรือไม่ สินค้าที่อาจแตกหัก ผู้ขายมีมาตรการการป้องกันไว้อย่างไร ผู้ขายส่งสินค้าทุกวันหรือไม่ ส่งโดยวิธีการแบบใด เนื่องจากการจัดส่งที่ต่างกัน ระยะเวลาในการได้รับสินค้าก็จะต่างกันด้วย ดังนั้นควรสอบถามให้แน่ใจก่อนการซื้อขาย

3. นโยบายการคืนสินค้า

ควรตรวจสอบนโยบายการคืนสินค้าของผู้ขายก่อนการซื้อขาย ผู้ขายยินดีรับคืนสินค้าหรือไม่หากสินค้ามีปัญหาหรือพบข้อบกพร่องของสินค้าที่ผู้ขายมิได้แจ้งไว้ก่อนการซื้อขาย หากสินค้ามีปัญหาต้องจัดส่งสินค้าคืน ผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้าคืนและ/หรือส่งกลับ

4. ความปลอดภัยในการชำระเงิน

การชำระเงินผ่านหน้าเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลด้านการเงิน เช่นหมายเลขบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิต ควรสังเกตให้แน่ใจว่าหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวมีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ที่ส่งออกไปเพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถถอดรหัสได้ โดยสังเกตจาก URL ของหน้าเว็บไซต์นั้นต้องเริ่มด้วย “https” แทนที่จะเป็น “http” และ มีสัญลักษณ์รูปกุญแจแสดงอยู่ที่ด้านล่างของเว็บเบราเซอร์เพื่อความปลอดภัยว่าเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้เป็นเว็บปลอมหรือฟิชชิ่ง และมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะไม่ถูกดักจับข้อมูลสำคัญของหมายเลขบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตดังกล่าว

5.หลีกเลี่ยงข้อเสนอ โปรโมชั่นสินค้า ราคาสินค้าที่น่าสงสัย

พบการขายสินค้าที่มีราคาถูกผิดปกติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่ามีการหลอกลวง เช่น สินค้าไม่มีตัวตนจริง ใช้ในการหลอกเอาหมายเลขบัตรเครดิต, สินค้าไม่มีคุณภาพ หรือชำรุด, สินค้าอาจมีที่มาไม่ถูกต้อง หรือผิดกฎหมาย

Cyfence ตระหนักถึงในภัยร้ายที่แฝงมากับการซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตจึงจัดให้มีบริการ Web Filtering เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของผู้ใช้บริการ โดยการคัดกรองและบล็อคการเข้าไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย อีกทั้งบริการ Email Security ที่เป็นบริการป้องกันภัยร้ายที่แฝงมากับอีเมล์ อาทิ สแปม ที่มักมีข้อความเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าสินค้าหรือบัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์, อีเมล์ฟิชชิ่งที่มีลิงค์ไปผู้อ่านคลิ้กไปยังเว็บไซต์ที่มีอันตรายได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่

https://www.cyfence.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 25 ธันวาคม 2024

    ปัจจุบันระบบ AI (Artificial Intelligence) มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตหรือการขนส่ง รวมไปถึงในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญมากขึ้น เมื่อเหล่าแฮกเกอร์นำเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้มาใช้โจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เพราะ AI มีสามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อมูลอ้างอิงของ Check Point, Tanium, Darktrace และ Palo[...]

  • 20 ธันวาคม 2024

    LinkedIn แพลตฟอร์มที่กำลังนิยมในขณะนี้ ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทำ Phishing ซึ่งมีแนวโน้มว่าปี 2025 จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่แฮกเกอร์ใช้โจมตี

  • 18 พฤศจิกายน 2024

    การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เครื่องมือบางชนิดของผู้ใช้งานเกิดความผิดพลาดได้