สถิติภัยคุกคามครึ่งปีแรก 2022 จากศูนย์ CSOC ของ NT cyfence

26 กันยายน 2022

ณิชาภา อยู่ผ่องภา
ณิชาภา อยู่ผ่องภาContent Writer ผู้แปล จัดทำ ข่าวด้านไอที บทความ Cyber Security และเป็นหนึ่งในทีมงาน cyfence ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

กว่าครึ่งปี 2022 ที่ผ่านมาพบว่าข่าวภัยคุกคามทางไซเบอร์ ยังคงเป็นข่าวและสร้างความเสียหายอยู่เป็นระยะ ทีมงาน NT cyfence ขอนำข้อมูลจากการรวบรวมสถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศ ตั้งแต่ ม.ค. – มิ.ย. 2022 จากศูนย์ปฏิบัติการ Cyber Security Operation Center (CSOC) ของ NT cyfence โดยมีข้อมูลสรุปดังต่อไปนี้

4 อันดับภัยคุกคามแบ่งตามประเภท Incident

1.Malicious Code 74%

จากสถิติภัยคุกคาม พบการโจมตีด้วยโปรแกรมไม่พึงประสงค์ ภัยคุกคามชนิดนี้ยังคงเป็นการโจมตีอันดับหนึ่งเหมือนปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากพนักงานในองค์กรขาดความตระหนักด้าน Cybersecurity ส่งผลให้อาจเผลอดาวน์โหลดมัลแวร์เข้าสู่ระบบจนทำให้ระบบสารสนเทศเกิดความเสียหาย เช่น ถูกเรียกค่าไถ่ข้อมูล  ไฟล์ข้อมูลรั่วไหล ไปจนถึงใช้งานระบบไม่ได้ เป็นต้น

2.Availability 19%

การโจมตีสภาพความพร้อมใช้งานของระบบ ทำให้ระบบเกิดความล่าช้าในการให้บริการ หรือไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งตัวอย่างของภัยคุกคามในรูปแบบนี้ ได้แก่ DDoS (Distributed Denial of Service) Attack คือ การที่ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เครื่องมือเพื่อสร้างปริมาณ Traffic/Packet ที่ผิดปกติส่งเข้ามาก่อกวนในระบบ Network (Flood Network) จนส่งผลกระทบให้ระบบตอบสนองได้ช้าลงหรือหยุดทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเข้าถึงเครื่องดังกล่าว และใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตี ส่วนใหญ่เริ่มมาจากการติดมัลแวร์ และถูก compromised ผ่านช่องโหว่ (Vulnerability)

3.Intrusion Attempt 5%

การพยายามบุกรุกเข้าระบบ รวมถึงบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเข้ามาควบคุม ตัวอย่างของภัยคุกคามในรูปแบบนี้ ได้แก่ Web exploit, SQL-injection, Crossite script และ Brute-force password สาเหตุหลักมาจากผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามค้นหาช่องโหว่ของระบบ และทดสอบการเข้าถึงระบบ ด้วยเครื่องมือ วิธีการต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ

4.Information Garthering 2%

พฤติกรรมการพยายาม Scan และกวาดหาข้อมูลของระบบ เพื่อเก็บข้อมูลของเป้าหมาย อาจจะใช้เครื่องเฉพาะเจาะจงในการค้นหาข้อมูลเป้าหมาย หรือเก็บข้อมูลที่ถูกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลสมัครงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตก็ถือว่าสามารถทำให้แฮกเกอร์นำไปต่อยอดในการใช้โจมตีได้ในอนาคตเช่นกัน

Top 5 ประเทศต้นทางที่มีพฤติกรรมพยายาม Exploit Vulnerability

สถิติ 5 ประเทศที่พยายาม Exploit Vulnerability เรียงลำดับ ดังนี้ 

ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ไทย เนเธอร์แลนด์  ซึ่งน่าตกใจที่ปีนี้มีการโจมตีจากภายในประเทศด้วย

Top 5 ประเทศต้นทางที่มีพฤติกรรมพยายาม Login Attempt

สถิติประเทศที่พยายามบุกรุกระบบ 5 อันดับ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ไทย เวียดนาม อินเดีย

Top 5 ประเภท Malicious Code

สำหรับ Malicious Code ที่เป็นภัยคุกคามอันดับ 1 นั้น ศูนย์ปฏิบัติการ Cyber Security Operation Center (CSOC) ของ NT cyfence ได้รวบรวมข้อมูลพบว่าแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. Mal?HTMLGen-A และ Mal ∕ HTMLGen-A  6%

เป็นมัลแวร์ที่ถูกตรวจพบเมื่อผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ไม่ปลอดภัย ซึ่งเว็ปไซต์ดังกล่าวสั่งการให้ web browser run java script ที่ผิดปกติ หรือจากการที่ผู้ใช้งานมีการติดตั้ง browser plug-in ที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดย Anti-virus ตรวจจับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ เมื่อมีการเข้าถึงหรือใช้งาน web-site

2. JS/Agent.NDSW!tr 4%

เป็นโทรจันทั่วไปที่แฮกเกอร์ใช้ฝังที่เครื่องของเหยื่อเพื่อเป็นช่องทางแพร่กระจายมัลแวร์ต่าง ๆ สำหรับขโมยข้อมูลสำคัญหรือติดตั้ง Ransomware ไวรัสอื่น ๆ โดยทั่วไปแฮกเกอร์จะนำมัลแวร์ไปติดตั้งยังเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยและเมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดข้อมูลหรือเข้าเว็บไซต์ดังกล่าว ก็อาจถูกมัลแวร์

ส่วนใหญ่เกิดจากการดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย และแฮกเกอร์จะนำมัลแวร์ตัวนี้ไปปล่อย แทนที่จะได้ดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการกลับได้มัลแวร์มาเป็นของแถมด้วย 

3. backdoor: Sality.Botnet 3%

เป็นมัลแวร์ที่แฮกเกอร์ใช้ฝังที่เครื่องเหยื่อเพื่อควบคุมจากระยะไกล (Remote) หรือใช้เป็นช่องทางในการเข้าติดตั้งมัลแวร์ชนิดอื่นๆ ด้วยความที่มัลแวร์ตัวนี้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เหมาะสมกับแต่ละระบบคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้เป็นหนึ่งในมัลแวร์อันตรายที่สุดในปัจจุบัน

4. HEUR:Trojan.Win32.Generic 3%

เป็นโทรจันที่มีลักษณะคล้าย  JS/Agent.NDSW!tr  ในข้อ 2 โดยมักจะพบในไฟล์ดาวน์โหลดของเว็บไซต์อันตรายรวมถึง Pop-up โฆษณาต่าง ๆ ซึ่งโทรจันเหล่านี้สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลธุรกรรมการเงินได้

5. MEM:Trojan.Win32.SEPEH.gen 3%

เป็น malware ประเภท trojan ที่จะฝังตัวอยู่ใน memory มีความสามารถที่หลากหลาย เช่น

  • ขโมยไฟล์
  • Copy text
  • Take screenshot
  • Read and Write files
  • Delete files
  • บันทึก keystroke บน computer
  • Monitor web cam หรือ microphone
  • Disable antivirus
  • ติดตั้ง malware อื่น

พฤติกรรมของ Malware ชนิดนี้จะพยายามเพิ่มสิทธิของตัวเองในระบบให้เป็น Administrator และทำการ Disable โปรแกรม Antivirus โดย Malware จะซ่อนตัวอยู่ในระบบเพื่อ run malicious activities ต่าง ๆ ซึ่งช่องทางการแพร่กระจาย malware ชนิดนี้มีหลากหลายช่องทาง เช่น malicious email attachment, โปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดจาก website ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือการใช้งานโปรแกรมที่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ข้อมูลสถิติข้างต้นเกิดขึ้นในเดือน ม.ค. – มิ.ย. 2022 จะพบว่ามีการโจมตีจากภายในประเทศมากขึ้น ส่วนประเภทของภัยคุกคามนั้นยังไม่เปลี่ยนไปมากหากเทียบกับภัยคุกคามปีที่ผ่านมา แต่สำหรับผู้ที่ทำการป้องกัน การมองย้อนไปข้างหลัง ก็สามารถช่วยให้ระมัดระวังในการเดินไปข้างหน้าและเตรียมพร้อมรับมือกับภัยต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที 

อย่างไรก็ตาม หากองค์กรของท่านต้องการเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Cybersecurity หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ทาง https://www.cyfence.com/contact-us/ หรือโทร 1888 ทีมงาน NT cyfence พร้อมแนะนำ และให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยสารสนเทศอย่างครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 25 ธันวาคม 2024

    ปัจจุบันระบบ AI (Artificial Intelligence) มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตหรือการขนส่ง รวมไปถึงในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญมากขึ้น เมื่อเหล่าแฮกเกอร์นำเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้มาใช้โจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เพราะ AI มีสามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อมูลอ้างอิงของ Check Point, Tanium, Darktrace และ Palo[...]

  • 20 ธันวาคม 2024

    LinkedIn แพลตฟอร์มที่กำลังนิยมในขณะนี้ ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทำ Phishing ซึ่งมีแนวโน้มว่าปี 2025 จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่แฮกเกอร์ใช้โจมตี

  • 18 พฤศจิกายน 2024

    การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เครื่องมือบางชนิดของผู้ใช้งานเกิดความผิดพลาดได้