สรุปคำถาม Webinar “สร้างมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรด้วย CIS Controls”

31 ตุลาคม 2024

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

หลังจากงาน Webinar เรื่อง “สร้างมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรด้วย CIS Controls” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ในเนื้อหาพูดถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยที่จัดลำดับความสำคัญในการป้องกันว่ามีอะไรบ้างและจำเป็นต้องทำตามอย่างไร หากองค์กรปฏิบัติตามจะสามารถลดความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ซึ่งมีหลายประเด็นคำถามที่น่าสนใจ ทีมงานรวบรวมให้ติดตามได้ ตามด้านล่างนี้

1.แนะนำโปรแกรมในการใช้ทดสอบระบบความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับเว็บไซต์

ตอบ เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมา จำเป็นจะต้องมีการทดสอบระบบก่อนเริ่มใช้งานเสมอ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง

  • Unit Testing  คือ การทดสอบการทำงานของแต่ละโมดูลนั้นสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่  กรณีเจอ Bug หรือ Defect ก็สามารถดำเนินการแก้ไขให้ทันท่วงที
  • Performance Testing  คือ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบ ว่าระบบสามารถรับรองผู้ใช้งานได้มากน้อยเพียงใด
  • User Acceptance Testing (UAT) คือ การทดสอบด้วย End User  โดยให้ทดลองการใช้งาน เพื่อต้องการทราบ Feedback ในการปรับแก้ไขเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะถูกนำไปใช้งานจริง

แต่หากเป็นในกรณีทดสอบความปลอดภัยของเว็บไซต์ว่ามีช่องโหว่หรือไม่ สามารถทดสอบได้ 2 รูปแบบดังนี้

1.1 Dynamic application scan

คือ การตรวจสอบแอปพลิเคชันที่กำลังทำงานอยู่ โดยการทดสอบเจาะระบบเพื่อหาข้อผิดพลาดของระบบ หรือ หาช่องโหว่แบบ Zero-day  ฯลฯ 

ยกตัวอย่างโปรแกรมสแกนโหว่รูปแบบ Dynamic application scan 

  • แบบเชิงพาณิชย์ (มีค่าใช้จ่าย) : เช่น acunetix web vulnerability scanner และ burp suite professional จะมีฟังก์ชันที่สามารถวิเคราะห์เชิงลึกทั้งแบบ Passive และ Active 
  • แบบ Open Source (แบบฟรี) :  Nuclei ของ ProjectDiscovery เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถสแกนช่องโหว่ได้เบื้องต้น

1.2.Static Application Security Testing

คือ การตรวจสอบความปลอดภัยที่สามารถเข้าถึง ซอร์สโค้ดและไบนารีพื้นฐานได้ทั้งหมด และยังช่วยหาช่องโหว่ในแอปพลิเคชันได้อีกด้วย 

ยกตัวอย่างโปรแกรมสแกนโหว่รูปแบบ Static Application Security Testing 

  • แบบเชิงพาณิชย์ (มีค่าใช้จ่าย) : Sonarqube ซึ่งมี Quality Management Tool ที่ช่วยแสกนช่องโหว่ Code ได้ครอบคลุม ทั้งการวิเคราะห์ ตรวจสอบและรายงานสรุปผลได้อย่างแม่นยำ
  • แบบ Open Source (แบบฟรี) : Semgrep หนึ่งในซอฟต์แวร์แบบฟรียอดนิยมที่สามารถใช้สแกนช่องโหว่ใน Source code แบบเบื้องต้น

2.NT มีทีมผู้ตรวจประเมินในการตรวจสอบองค์กรว่ามีความปลอดภัยหรือไม่และมีวิธีการป้องกันหรือปรับปรุงอย่างไร

ตอบ  NT มีทีมสำหรับตรวจประเมินภายใน แต่ปกติแล้วผู้ตรวจกับผู้ดำเนินการ Implement จะเป็นคนละทีมกัน เนื่องจากป้องกันเรื่องมีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งการตรวจประเมินภายในจะเป็นการตรวจสอบว่าการดำเนินการต่าง ๆ สอดคล้องตามข้อกำหนดและมีการทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่

หากพบความไม่สอดคล้อง ผู้รับการตรวจก็จะต้องดำเนินการแก้ไขและทำแนวทางปรับปรุง และผู้ตรวจประเมินจะต้องมีการ Follow-up ต่อไป

3.สามารถทำ CIS Controls / ISO 27001 / NIST Cyber Security Framework (CSF) พร้อมกันได้หรือไม่

ตอบ  สามารถทำพร้อมกันได้ แต่จะต้องพิจารณาจากการแผนงานและงบประมาณขององค์กรเป็นอันดับแรก ในกรณีที่องค์กรยังไม่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ และมีงบประมาณจำกัด ก็ควรต้องทำสิ่งที่เร่งด่วนก่อนเป็นอย่างแรก เช่น ต้องการเน้นเรื่องการดูแลในเชิงทางเทคนิคสำหรับ IT Operation ก็ควรทำ CIS Controls ในส่วนอื่นสามารถดำเนินการเป็นลำดับถัดไป  

แต่หากมีความพร้อมทั้งทรัพยากร และ งบประมาณ สามารถทำพร้อมกันได้ก็จะทำให้องค์กรของท่านมีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลอย่างครอบคลุม

4.การ Implement Group 1 หรือเรียกว่า IG1 เหมาะสำหรับองค์กรประเภทใด

ตอบ   Implement Group 1 คือ มาตรฐานอันดับแรกของ CIS  Controls  ซึ่งจะเป็นการควบคุมความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นด้านอุปกรณ์ไอที ระบบเครือข่ายแบบเบื้องต้น การป้องกันข้อมูลภายในองค์กร เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลการเงิน ฯลฯ จะเหมาะกับองค์กรขนาดเล็ก ที่ยังไม่มีการรักษาความปลอดภัยไอทีเบื้องต้น

5. มาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ CIS Control  แบ่งออกเป็นกี่กลุ่มหลัก

ตอบ แบ่งออกเป็น 18 กลุ่ม ได้แก่ 

  • CIS Control 1: Inventory and Control of Enterprise Assets  การหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไอทีขององค์กร
  • CIS Control 2: Inventory and Control of Software Assets  การควบคุมระบบให้ติดตั้งได้เฉพาะซอฟต์แวร์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  • CIS Control 3: Data Protection การควบคุมข้อมูล ตั้งแต่การจัดลำดับข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลให้มีความปลอดภัย ไปจนถึงการทำลายข้อมูล
  • CIS Control 4: Secure Configuration of Enterprise Assets and Software  การควบคุมความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทาง เช่น อุปกรณ์ IoT พีซี สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ฯลฯ
  • CIS Control 5: Account Management  การกำหนดและจัดการการอนุญาตสิทธิ์สำหรับบัญชีผู้ใช้ รวมถึงบัญชีผู้ดูแลระบบ
  • CIS Control 6: Access Control Management การจัดการ การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง
  • CIS Control 7: Continuous Vulnerability Management การประเมินความเสี่ยงช่องโหว่ของระบบ
  • CIS Control 8: Audit Log Management การจัดการบันทึกการตรวจสอบ  Log Management
  • CIS Control 9: Email and Web Browser Protections  การป้องกันอีเมลและเว็บเบราว์เซอร์
  • CIS Control 10: Malware Defenses การป้องกันมัลแวร์
  • CIS Control 11: Data Recovery การกู้คืนข้อมูล
  • CIS Control 12: Network Infrastructure Management การจัดการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย
  • CIS Control 13: Network Monitoring and Defense การตรวจสอบและการป้องกันเครือข่าย
  • CIS Control 14: Security Awareness and Skills Training การฝึกอบรมทักษะและการตระหนักรู้ด้านความปลอดภัย
  • CIS Control 15: Service Provider Management การคัดเลือกผู้ให้บริการภายนอกที่ดูแลข้อมูลสำคัญขององค์กร
  • CIS Control 16: Application Software Security ความปลอดภัยของซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • CIS Control 17: Incident Response Management การตอบสนองและการจัดการเหตุการณ์
  • CIS Control 18: Penetration Testing  การทดสอบการเจาะระบบ

การมีแนวปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นมาตรฐานสากล จะช่วยเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมืออาชีพ หากต้องการดูเนื้อหาทั้งหมดใน Webinar สามารถรับชมวีดีโอสัมมนาย้อนหลังได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=sYYl6Kb5r1E  

หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมด้านบริการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ กรุณติดต่อ https://www.cyfence.com/contact-us/ 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 25 ธันวาคม 2024

    ปัจจุบันระบบ AI (Artificial Intelligence) มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตหรือการขนส่ง รวมไปถึงในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญมากขึ้น เมื่อเหล่าแฮกเกอร์นำเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้มาใช้โจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เพราะ AI มีสามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อมูลอ้างอิงของ Check Point, Tanium, Darktrace และ Palo[...]

  • 20 ธันวาคม 2024

    LinkedIn แพลตฟอร์มที่กำลังนิยมในขณะนี้ ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทำ Phishing ซึ่งมีแนวโน้มว่าปี 2025 จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่แฮกเกอร์ใช้โจมตี

  • 18 พฤศจิกายน 2024

    การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เครื่องมือบางชนิดของผู้ใช้งานเกิดความผิดพลาดได้