5 เครื่องมือ Web Monitoring ตรวจสอบเว็บไซต์ฟรี ในปี 2024

18 ตุลาคม 2024

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

การดูแลและตรวจสอบการทำงานของเว็บไซต์ให้ใช้งานได้เสมอเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภาคเอกชนหรือภาครัฐที่ให้บริการประชาชน เพราะหากเกิดปัญหาเว็บไซต์ไม่สามารถใช้งานได้ อาจกระทบกับผู้ใช้งานหรือรายได้จากการดำเนินธุรกิจ การใช้เครื่องมือในการเฝ้าระวังเว็บ หรือที่เรียกว่า Website Monitoring จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เราตรวจสอบ เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นหรือควบคุมไม่ให้ภัยคุกคามบานปลาย โดยที่เราไม่รู้ตัว

ปัจจุบันเครื่องมือ Website Monitoring ที่ให้บริการฟรีมีหลาย Website ใช้งานได้ดี เครื่องมือเหล่านี้จะสามารถตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์ได้ตลอดเวลาและจะส่งการแจ้งเตือนทันทีเมื่อเว็บไซต์มีปัญหา เช่น เข้าไม่ได้หรือโหลดช้า ทำให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ทราบถึงปัญหาและจัดการแก้ไขได้ทันเวลา 

บทความนี้ NT cyfence ขอแนะนำ 5 เครื่องมือ Web Monitoring ให้บริการฟรีที่น่าใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบ ติดตามสถานะเว็บไซต์ขององค์กร พร้อมแจ้งเตือนหากมีเหตุการณ์ผิดปกติ เพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขได้ทันท่วงที โดย 5 เครื่องมือที่แนะนำมีดังต่อไปนี้

1. StatusCake (https://www.statuscake.com/)

 

StatusCake เป็นเครื่องมือตรวจสอบเว็บไซต์จากประเทศอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปี 2012  เป็นเครื่องมือยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก อาทิ เช่น Microsoft, GoDaddy และ Netflix โดยหนึ่งในจุดเด่นของ StatusCake คือมีศูนย์ควบคุมที่สามารถ Monitoring ได้ครอบคลุมถึง 48 แห่ง กว่า 28 ประเทศ สามารถเช็กได้ว่าเว็บไซต์ของเราปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ 

Key Features

  • Performance Monitoring : การวิเคราะห์รายละเอียดเวลาการโหลดทุกหน้าบนเว็บไซต์ โดยทดสอบจากตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้เห็นว่าแต่ละหน้าของเว็บไซต์ใช้เวลานานเท่าใดในการโหลดในแต่ละพื้นที่ ทำให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและความเร็วของเว็บไซต์ในภูมิภาคต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • Uptime Monitoring : การตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเว็บไซต์ (Uptime) โดยสามารถตั้งค่าการตรวจสอบในช่วงเวลาที่สั้นที่สุดได้ถึง 30 วินาที 
  • Server Monitoring : ตรวจสอบการใช้ RAM, CPU และดิสก์ ตามค่าที่ผู้ใช้กำหนด
  • Alerts : การแจ้งเตือนที่ตั้งค่าได้ เช่น สามารถการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล, SMS, X  หรือร่วมกับบริการต่าง ๆ เช่น Slack, Discord, Pushover, PushBullet, HipChat และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายงานที่ไม่ติดแบรนด์ เพื่อให้สามารถแสดงการแจ้งเตือนเหล่านี้ไปยังผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียได้ 

ข้อดี :

  • ฟีเจอร์ครบครัน : มีการตรวจสอบประสิทธิภาพ การตรวจสอบความพร้อมใช้งาน และการตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์
  • มีศูนย์ Monitoring หลายแห่ง : กว่า 48 แห่งทั่วโลก 
  • การแจ้งเตือนที่หลากหลาย : รับการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น อีเมล, SMS, X, และรวมกับบริการอื่น ๆ

ข้อเสีย :

  • รูปแบบการใช้งานฟรีจะมีข้อจำกัด : การใช้งานแบบฟรีมีฟีเจอร์จำกัด ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ขั้นสูงได้
  • บริการสนับสนุนอาจไม่พร้อมใช้งานตลอดเวลา : อาจมีปัญหาในการติดต่อฝ่ายสนับสนุน

2. Uptrends (https://www.uptrends.com/)

Uptrends ก่อตั้งขึ้นในปี 2007 เป็นเครื่องมือตรวจสอบเว็บไซต์ที่ครอบคลุม ตั้งแต่การตรวจสอบเว็บไซต์ จากหลายตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งช่วยให้ธุรกิจและเว็บไซต์สามารถติดตามการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการตรวจสอบเว็บไซต์ทั่วไปแล้ว Uptrends ยังมีฟีเจอร์ขั้นสูงที่เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการรายละเอียดในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น การตรวจสอบผู้ใช้จริง (Real User Monitoring) และการบันทึกธุรกรรม (Transaction Monitoring) ซึ่งผู้ใช้งานของ Uptrends มีบริษัทชื่อดังอย่าง Microsoft, HP, Virgin และ Zendesk ดังนั้น Uptrends เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการตรวจสอบเว็บไซต์เหมาะกับทุกระดับการใช้งาน ตั้งแต่ผู้ใช้ที่ต้องการตรวจสอบเว็บไซต์เบื้องต้นไปจนถึงองค์กรที่ต้องการฟีเจอร์ขั้นสูง

Key Features

  • Multi-browser Monitoring : Uptrends ใช้เบราว์เซอร์หลักทั้งสาม ได้แก่ Chrome, Firefox, และ Internet Explorer เพื่อทดสอบการโจมตีเว็บไซต์ โดยฟีเจอร์ Full Page Check จะทดสอบทุกหน้าและองค์ประกอบของเว็บไซต์เพื่อดูการทำงานและการโหลดของหน้าเว็บไซต์
  • Global Checkpoints : Uptrends มีศูนย์ Monitoring กว่า 200 แห่งทั่วโลก ทำให้สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์จากสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกา และภูมิภาคอื่น ๆ
  • Private Checkpoints : ผู้ใช้ยังสามารถตั้งค่าจุดตรวจสอบส่วนตัว เพื่อใช้ตรวจสอบแอปพลิเคชันภายในองค์กรหลังไฟร์วอลล์ได้
  • Transaction Monitoring : ฟีเจอร์นี้ช่วยในการบันทึกและตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ ของธุรกรรมบนเว็บไซต์ เช่น การสั่งซื้อ การลงทะเบียน และฟังก์ชันอื่น ๆ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเหล่านี้ได้
  • Real User Monitoring : ติดตามและวิเคราะห์ประสบการณ์จริงของผู้ใช้ที่เข้าชมเว็บไซต์ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ ความเร็วในการโหลด และปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บ
  • Alerts : แจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาหรือการหยุดทำงานของเว็บไซต์ สามารถปรับแต่งให้ส่งผ่านอีเมล, SMS หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Slack, Microsoft Teams, และอื่น ๆ

ข้อดี :

  • มีการทดสอบการโจมตี :  หากตกลงใช้งาน Uptrends จะมีการทดสอบการโจมตี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพในการป้องกันเว็บไซต์ของตัวเองได้ก่อนเริ่มใช้งาน
  • มีศูนย์ Monitoring หลายแห่ง: กว่า 200 แห่งทั่วโลก 
  • การบันทึกการทำธุรกรรม : ฟีเจอร์ในการติดตามและบันทึกการทำธุรกรรมบนเว็บไซต์

ข้อเสีย :

  • รูปแบบการใช้งานฟรีจะมีข้อจำกัด : การใช้งานแบบฟรีมีฟีเจอร์จำกัด ไม่สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ขั้นสูงได้

3. Uptime Robot  (https://uptimerobot.com/)

Uptime Robot เป็นบริการตรวจสอบเว็บไซต์ของประเทศมอลตา ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2010 และได้รับความนิยมอย่างมากในฐานะผู้ให้บริการตรวจสอบเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง โดยมีศูนย์ Monitoring กว่า 20 แห่งทั่วโลก ข้อดีของเครื่องมือนี้คือ สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนเองได้หากเว็บไซต์เกิดเหตุผิดปกติ

 

Key Features

  • Uptime Monitoring : ตรวจสอบเว็บไซต์ได้ทุก ๆ 5 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ทำงานได้ตามปกติ 
  • Downtime Alerts : เมื่อเว็บไซต์หยุดทำงาน Uptime Robot จะส่งการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล สำหรับแผนชำระเงินสามารถรับการแจ้งเตือนทางข้อความ SMS หรือโทรศัพท์
  • Platform Integration : Uptime Robot ได้เพิ่มการผสานรวมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Google Hangouts, X, Telegram, Slack และอีกมากมาย

ข้อดี :

  • ตรวจสอบความพร้อมใช้งานที่เชื่อถือได้ : แม้เป็นเวอร์ชันฟรี ก็สามารถตรวจสอบเว็บไซต์ได้ทุก ๆ 5 นาที
  • สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนได้ : สามารถกำหนดการแจ้งเตือนตามระยะเวลาและประเภทการหยุดทำงาน
  • ใช้งานได้หลายแพลตฟอร์ม : รองรับการเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชันต่าง ๆ

ข้อเสีย :

  • ไม่มีการตรวจสอบความเร็ว : มีเพียงฟีเจอร์การตรวจสอบความพร้อมใช้งานเท่านั้น
  • แดชบอร์ดใช้งานยาก : อาจมีความยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ใหม่

4.  Montastic (https://www.montastic.com/)

Montastic เป็นเครื่องมือที่ให้บริการตรวจสอบเว็บไซต์ในรูปแบบที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน โดยมุ่งเน้นที่การตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์และส่งการแจ้งเตือนเมื่อเว็บไซต์หยุดทำงาน

Key Features

  • Uptime Monitoring : Montastic ตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์ในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาที, 60 นาที, 3 ชั่วโมง, 6 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง โดยระบบจะส่งอีเมลแจ้งเตือนเมื่อเว็บไซต์หยุดทำงาน และส่งอีเมลอีกครั้งเมื่อเว็บไซต์กลับมาทำงานได้ตามปกติ
  • Log in with Google : Montastic ต้องการให้ผู้ใช้ลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ แต่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี Google เพื่อข้ามขั้นตอนการลงทะเบียนได้
  • Multiple Alert Recipients : Montastic อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มที่อยู่อีเมลหลายรายการเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อเว็บไซต์หยุดทำงานทุกคนที่เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูลทันที

ข้อดี :

  • ใช้งานง่าย : ฟีเจอร์พื้นฐานไม่ซับซ้อน
  • การแจ้งเตือนที่รวดเร็ว : ส่งการแจ้งเตือนผ่านอีเมลเมื่อเว็บไซต์หยุดทำงาน
  • การเข้าสู่ระบบผ่าน Google : ทำให้การลงทะเบียนและการใช้งานสะดวกขึ้น

ข้อเสีย :

  • ไม่มีฟีเจอร์ขั้นสูง : ไม่มีการตรวจสอบความเร็วหรือฟีเจอร์อื่น ๆ 
  • ใช้เวลาตรวจสอบที่ค่อนข้างนาน : การตรวจสอบทำได้ทุก 30 นาทีในแผนฟรี ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์

5.  Uptimia (https://www.uptimia.com/)

Uptimia เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างใหม่ แต่มีลูกค้ารายใหญ่ใช้บริการ เช่น Pepsi, Akamai, และ Nokia เครื่องมือนี้ให้บริการตรวจสอบทั้งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงการตรวจสอบความพร้อมใช้งาน ความเร็ว และตรวจสอบการทำธุรกรรม

Key Features

  • Uptime Monitoring : มีศูนย์ Monitoring กว่า 170 แห่งทั่วโลก และสามารถตรวจสอบเว็บไซต์ได้รวดเร็วเพียงใช้เวลาแค่ 30 วินาที
  • Performance Monitoring : มีฟีเจอร์การตรวจสอบเวลาการโหลดโดยใช้เบราว์เซอร์จริง รวมถึงการตรวจสอบผู้ใช้จริง (Real User Monitoring – RUM) ซึ่งสามารถวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ตามการเข้าชมจริง
  • Custom-Branded Reports : ผู้ใช้สามารถปรับแต่งรายงานประจำวันโดยใช้โลโก้และสีของบริษัท ทำให้ Uptimia เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเอเจนซี่ที่จัดการเว็บไซต์ของลูกค้า

ข้อดี :

  • การตรวจสอบหลายช่องทาง : มีฟีเจอร์ในการตรวจสอบทั้งความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพของเว็บไซต์
  • การแจ้งเตือนทันที : แจ้งเตือนผู้ใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหา
  • รายงานที่ละเอียด : สามารถสร้างรายงานที่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์

ข้อเสีย :

  • อาจต้องใช้เวลาในการตั้งค่า : ฟีเจอร์ที่หลากหลายอาจทำให้ผู้ใช้ใหม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และตั้งค่า
  • รูปแบบการใช้งานฟรีจะมีข้อจำกัด : การใช้งานแบบฟรีมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ขั้นสูงได้

เครื่องมือการตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ให้บริการทั้ง 5 นั้น มีฟีเจอร์และความสามารถที่แตกต่างกันไป แต่ล้วนเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มต้นตรวจสอบเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความเร็ว, การหยุดทำงาน หรือการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา, เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับหน่วยงานที่ต้องการการเฝ้าระวังเว็บไซต์แบบไม่ต้องยุ่งยากในการตั้งค่าและติดตามผลการแก้ไข การมอบหน้าที่ให้ผู้ให้บริการจากภายนอกก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาระและเพิ่มความปลอดภัยได้เช่นกัน

NT cyfence มีบริการ Web Monitoring ให้บริการเฝ้าระวังเว็บไซต์แบบ Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนอกจากจะทำการ Monitor สถานะของเว็บไซต์แล้ว ยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ การตรวจจับการฝังไวรัส รวมถึงการตรวจสอบใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (SSL Certificate) อัตโนมัติ ซึ่งให้บริการด้วยมาตรฐานเดียวกันกับ Cybersecurity Monitoring ทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในคุณภาพการให้บริการของเรา

สำหรับผู้ที่สนใจติดต่อ NT cyfence ได้ทาง https://www.cyfence.com/contact-us/  หรือโทร 1888 ทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยด้านสารสนเทศอย่างครบวงจร

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 25 ธันวาคม 2024

    ปัจจุบันระบบ AI (Artificial Intelligence) มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตหรือการขนส่ง รวมไปถึงในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญมากขึ้น เมื่อเหล่าแฮกเกอร์นำเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้มาใช้โจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เพราะ AI มีสามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อมูลอ้างอิงของ Check Point, Tanium, Darktrace และ Palo[...]

  • 20 ธันวาคม 2024

    LinkedIn แพลตฟอร์มที่กำลังนิยมในขณะนี้ ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทำ Phishing ซึ่งมีแนวโน้มว่าปี 2025 จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่แฮกเกอร์ใช้โจมตี

  • 18 พฤศจิกายน 2024

    การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เครื่องมือบางชนิดของผู้ใช้งานเกิดความผิดพลาดได้