10 เครื่องมือปิดเว็บปลอม รวม 10 เว็บไซต์ที่ช่วยให้การ Take Down Phishing Site หาก องค์กรของคุณกำลังตกเป็นเหยื่อ

28 สิงหาคม 2024

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

ในยุคที่การโจมตีทางไซเบอร์กลายเป็นภัยคุกคามใกล้ตัวมากขึ้น องค์กรไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ทุกภาคธุรกิจต่างมีโอกาสตกเป็นเหยื่อได้เสมอ ข่าวเกี่ยวกับการถูกแฮกหรือโจมตีผ่านอินเทอร์เน็ตปรากฏในสื่อต่าง ๆ แทบทุกวัน โดยเฉพาะภัยจากเว็บไซต์ Phishing ที่มีการปลอมแปลงเป็นเว็บไซต์จริงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลสำคัญขององค์กร ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนของเว็บไซต์เหล่านี้กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน่าตกใจ การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ ธนาคาร หรือธุรกิจประเภทใดก็ตาม ความเสี่ยงที่จะถูกแฮกยังคงอยู่ตลอดเวลา แล้วคุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ที่ถูกส่งมาทางอีเมลหรือช่องทางอื่น ๆ นั้นเป็นของจริง? ขอยกตัวอย่าง เช่น องค์กร ABC ตรวจสอบพบว่ามีผู้ไม่หวังดีแอบอ้างส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่เลียนแบบคล้ายกันกับเว็บไซต์ขององค์กรไปหลอกลวงให้คนเข้ามาลงทะเบียนเพื่อลุ้นรับของรางวัลมูลค่า 50,000 บาท จนมีคนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก เช่น เว็บไซต์จริงคือ http://www.ABCcompany.com แต่เว็บไซต์ปลอม คือ http://www.AABCccompany.com ที่ทำขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายกันเพื่อให้คนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด เป็นต้น แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับองค์กรของคุณ จะสามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ดังนั้นบทความนี้ทาง NT cyfence จึงได้รวบรวมเครื่องมือสำคัญ 10 ตัว ที่จะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถตรวจสอบและรายงานเว็บไซต์อันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้คุณและองค์กรของคุณปลอดภัยจากการถูกล่อลวงโดย Phishing เว็บไซต์ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่กำลังจะเข้าชมนั้นเป็นของจริงหรือไม่ แต่ยังสามารถช่วยค้นหาข้อมูลโดเมน ตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ และรายงานเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายได้อีกด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นหน่วยงานใดหรือบริษัทในอุตสาหกรรมใด การรู้จักและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรของคุณก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ และสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะการคลิกที่รอบคอบของคุณอาจเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องข้อมูลที่มีค่าขององค์กรจากการถูกขโมย เพราะการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ใช่แค่หน้าที่ของฝ่าย IT แต่เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในองค์กร การรู้จักเครื่องมือที่ถูกต้องและการใช้งานมันอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้องค์กรของคุณสามารถสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแกร่ง และก้าวผ่านภัยคุกคามทางไซเบอร์ไปได้อย่างมั่นใจ

1. Whois Lookup (https://whois.domaintools.com/)

หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ NT cyfence ขอแนะนำคือ Whois Lookup เครื่องมือนี้จะช่วยให้คุณตรวจสอบข้อมูลโดเมนของเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด เพียงแค่ใส่ลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบลงไป คุณจะสามารถเห็นข้อมูลเกี่ยวกับโดเมนของเว็บไซต์นั้น ๆ เช่น IP Location, Name Servers, IP Address และ ASN ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยในการลบหรือปิดเว็บไซต์ Phishing

2. McAfee (https://sitelookup.mcafee.com/)

เครื่องมือที่ช่วยรายงานเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย โดยมีขั้นตอนตรวจสอบได้ดังนี้ เริ่มจาก

  1. ไปที่หน้าเว็บรายงานของ McAfee: เปิดเบราว์เซอร์ของคุณและไปที่หน้าเว็บรายงานของ McAfee
  2. ค้นหาระบบ Customer URL Ticketing: เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บรายงาน ให้ค้นหาส่วนที่ชื่อว่า “Customer URL Ticketing System”
  3. เลือก McAfee Real-Time Database: ในระบบ Customer URL Ticketing ให้เลือก “McAfee Real-Time Database”
  4. ใส่ URL ที่เป็นอันตราย: จะมีช่องว่างที่ให้คุณใส่ URL ที่คุณต้องการรายงาน ใส่ URL ที่เป็นอันตรายลงในช่องนั้น
  5. คลิกที่ “Check URL” เพื่อดำเนินการต่อ: หลังจากใส่ URL แล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม “Check URL” เพื่อดำเนินการตรวจสอบและรายงาน URL ดังกล่าว การดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้ McAfee สามารถตรวจสอบและจัดการกับ URL ที่เป็นอันตรายได้อย่างรวดเร็ว

3. Google SafeBrowsing (https://safebrowsing.google.com/safebrowsing/report_phish/)

เป็นเว็บไซต์รายงานเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายผ่าน Google SafeBrowsing คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ หากว่าพบเจอลิงก์ที่น่าสงสัย

  1. เปิดหน้า Google SafeBrowsing: เปิดเบราว์เซอร์ของคุณแล้วไปที่หน้า Google SafeBrowsing Report Phishing Page
  2. กรอกรายละเอียด: ในหน้าฟอร์มที่ปรากฏ ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ที่คุณเชื่อว่าเป็น phishing หรือเป็นอันตรายลงในช่องที่ให้มา
  3. ใส่ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณสามารถใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้น หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยในการตรวจสอบ
  4.  คลิกที่ “Submit” เพื่อส่งรายงาน: หลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม “Submit” เพื่อส่งรายงาน URL ที่เป็นอันตรายไปยัง Google เพื่อทำการตรวจสอบ การดำเนินการนี้จะช่วยให้ Google ตรวจสอบเว็บไซต์ที่น่าสงสัยและป้องกันไม่ให้ผู้ใช้อื่นตกเป็นเหยื่อได้

 4. Microsoft (https://www.microsoft.com/en-us/wdsi/support/report-unsafe-site)

เครื่องมือนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สะดวกต่อการใช้รายงาน Web Phishing ที่เป็นอันตราย เปิดหน้า Microsoft Security Intelligence: ไปที่หน้า Microsoft Security Intelligence แล้ว คลิกที่ “Continue as a guest”: เมื่อหน้าเว็บโหลดเสร็จแล้ว ให้คลิกเพื่อดำเนินการต่อโดยไม่ต้องลงชื่อเข้าใช้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถส่ง URL หรือไฟล์ที่คุณเชื่อว่าอาจเป็นอันตรายให้ Microsoft วิเคราะห์ได้เลย

5. Fortiguard (https://www.fortiguard.com/webfilter)

อีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยรายงานเว็บ Phishing ที่เป็นอันตราย ทำได้ง่ายมากเช่นกัน ที่สำคัญสามารถค้นหา Malicious URL และสามารถจัดประเภทได้ว่าเป็นเว็บ Phishing หรือไม่

6. BrightCloud (https://www.brightcloud.com/tools/url-ip-lookup.php)

เครื่องมือนี้ก็ใช้ได้ดีมากเช่นกันสำหรับการตรวจสอบเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บไซต์ที่ปลอดภัยหรือไม่ โดยมีมาตรวัดค่าระดับความปลอดภัยเป็นแถบสี และคะแนน (1-100)  ซึ่งเป็นจุดเด่นของเว็บไซต์นี้

7. CRDF (https://threatcenter.crdf.fr/submit_url.html)

เป็นเครื่องมือที่ใช้รายงานเว็บไซต์โดยสามารถ เปิดหน้าเว็บของ CDRF Labs จากนั้น ใส่ URL ที่เป็นอันตรายในช่อง List of Web Addresses to Report แล้วพิมพ์หรือวาง URL ที่คุณคิดว่าเป็นอันตรายลงไป จากนั้น คลิกที่ Submit your request เพื่อรายงาน URL นั้น ๆ

8. Netcraft (https://report.netcraft.com/report)

เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ไว้สำหรับรายงานลิงก์ที่น่าสงสัย เพียงแค่วาง URL แล้วก็กด Report Malicious URL เพียงเท่านี้ก็รายงานเว็บไซต์ปลอมได้แล้ว

9. Palo Alto Networks (https://urlfiltering.paloaltonetworks.com/ )

เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณค้นหารายละเอียดของ URL นั้น ๆ โดยบอกระดับความเสี่ยงของเว็บเหล่านั้น และ รายละเอียดของเว็บไซต์นั้น ๆ

10. ESET (https://phishing.eset.com/en-us/report)

เครื่องมือนี้สามารถใช้รายงาน Web Phising ที่เป็นอันตราย เพียงแค่วาง Malicious URL โดยสามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้จากนั้นก็กดส่งรายงานได้เลย

จาก 10 เครื่องมือที่ได้รวบรวมมาข้างต้นนี้ หากคุณพบว่าเว็บไซต์องค์กรของคุณโดนปลอมแปลงสร้างเป็น Phishing Site หรือ กำลังสงสัยว่าเว็บไซต์ที่คุณกำลังจะเข้าชมนั้นเป็นเว็บปลอม อีกทั้งหากคุณพบเจอ เว็บ Phishing น่าสงสัยที่คาดว่าจะเป็นอันตรายก็สามารถนำลิงก์นั้นมารีพอร์ตลงเว็บไซต์ที่ได้แนะนำมาข้างต้นนี้  เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับองค์กร หรือหน่วยงานของคุณ นอกจากนี้ เราขอแนะนำ Cybersecurity Monitoring บริการจากทาง NT cyfence ที่คอยเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ และความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านศูนย์ปฏิบัติการ Cybersecurity Operations Center (CSOC) โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ (Security Analyst) ในการวิเคราะห์ภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ และนำข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์จาก Threat Intelligence Platform เพื่อแจ้งเตือนเหตุการณ์ภัยคุกคาม รวมถึงแนวทางในการจัดการการแก้ไขปัญหา เมื่อพบเหตุการณ์ต้องสงสัย หรือ เหตุการณ์ผิดปกติที่มีความเสี่ยงซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับความปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบ Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : systemweakness , indranilroy9.medium , medium

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 25 ธันวาคม 2024

    ปัจจุบันระบบ AI (Artificial Intelligence) มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตหรือการขนส่ง รวมไปถึงในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญมากขึ้น เมื่อเหล่าแฮกเกอร์นำเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้มาใช้โจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เพราะ AI มีสามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อมูลอ้างอิงของ Check Point, Tanium, Darktrace และ Palo[...]

  • 20 ธันวาคม 2024

    LinkedIn แพลตฟอร์มที่กำลังนิยมในขณะนี้ ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทำ Phishing ซึ่งมีแนวโน้มว่าปี 2025 จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่แฮกเกอร์ใช้โจมตี

  • 18 พฤศจิกายน 2024

    การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เครื่องมือบางชนิดของผู้ใช้งานเกิดความผิดพลาดได้