วิธีจับผิด Email Phishing โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อง COVID-19
29 พฤษภาคม 2020
ข่าวบนอินเทอร์เน็ตเกือบทุกเว็บไซต์ในช่วงนี้จะพบว่ายังคงเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ Coronavirus หรือ ไวรัส COVID-19 ซึ่งมาพร้อมกับ Email Phishing ที่แอบอ้างโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทยที่ถึงแม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดในประเทศจะเริ่มดีขึ้น แต่ภัยออนไลน์ประเภทนี้ไม่ได้ใช้กระแสเรื่องนี้แค่เรื่องเดียว มักจะมีการทำ Phishing โดยใช้เนื้อหาอื่น ๆ ที่ต่างไปมาหลอกอย่างต่อเนื่อง ในบทความขอยกเอาตัวอย่างแค่เรื่อง Phishing ที่เกี่ยวกับ Coronavirus เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น เพราะมีสถานะการณ์ปัจจุบันประกอบเข้ามาด้วย
วิธีการของ Phishing เรื่อง Covid 19
วิธีการคือแฮกเกอร์จะส่ง Email ที่อ้างว่ามาจากองค์กรที่ถูกกฎหมายและ อาศัยสถานการณ์ปัจจุบันสร้างข้อความพร้อมกับข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ Coronavirus ใน Email เพื่อโน้มน้าวให้เราเปิดไฟล์แนบเพื่อดูสถิติล่าสุดต่าง ๆ หากเราคลิกที่ไฟล์แนบ หรือลิงก์ในข้อความ ก็กลายเป็นดาวน์โหลดโปรแกรม หรือมัลแวร์อันตรายลงในอุปกรณ์ของเราและเมื่อแฮกเกอร์เข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ก็จะสามารถบันทึกการกดแป้นพิมพ์ของเรา (keylogger) หรือเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และข้อมูลทางการเงิน นำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล
ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ เราก็จะยังคงพบเห็น Email Phishing ที่แอบอ้างโรคนี้ต่อไป แต่หากเราสามารถป้องกันการถูกหลอกลวงนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อได้ความสูญเสียจากภัยออนไลน์ชนิดนี้ก็จะลดน้อยลง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น Email Phishing ของ Coronavirus ?
Email Phishing ที่มีธีม Coronavirus รูปแบบจะแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น CDC หรือศูนย์ควบคุมโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แจ้งเตือนว่า แฮกเกอร์ส่ง Email Phishing ที่ออกแบบมาให้ดูเหมือนว่าส่งมาจากศูนย์ CDC ซึ่ง Email ดังกล่าวอาจอ้างสิทธิ์ในการเชื่อมต่อไปยังรายชื่อผู้ป่วยที่เป็นโรค Coronavirus ในพื้นที่ของเรา “คุณจะได้รับคำแนะนำให้ดำเนินการในกรณีข้างต้นทันทีเพื่อความปลอดภัย”
นี่คือตัวอย่างของ Email CDC ปลอม (ตัวอย่างทั้งหมดด้านล่างมาจากเว็บไซต์ US Health and Human Services)
ในส่วนของ Email ที่เกี่ยวกับการแนะนำด้านสุขภาพ Phishers (เป็นคำคล้ายนักตกปลา) หรือแฮกเกอร์ ได้ส่ง Email ที่ให้คำแนะนำทางการแพทย์โดยมีเจตนาเพื่อจะช่วยปกป้องคุณจากการ Coronavirus โดยอาจอ้างว่ามาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ใกล้กับเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งของการแพร่ระบาดของโรค Coronavirus ในข้อความ Email Phishing ฉบับหนึ่ง มีเนื้อหาคร่าวๆ ว่า “แค่คุณดูไฟล์ที่แนบมาด้านล่างก็สามารถช่วยให้เราทุกคนปลอดภัยจากการติด Coronavirus ได้”
นี่คือลักษณะของ Email แนะนำเรื่องสุขภาพปลอม
Email ที่เกี่ยวกับนโยบายของสถานที่ทำงาน แฮกเกอร์อาจจะกำหนดเป้าหมายเป็น Email ของที่ทำงานของพนักงานบริษัท Email Phishing ฉบับหนึ่งถูกส่งให้พนักงาน อ้างว่า “เนื่องจากการระบาดของโรค Coronavirus บริษัทกำลังใช้ความระมัดระวังอย่างมาก โดยกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในการจัดการกับโรคติดต่อ” หากเราคลิกที่นโยบายของบริษัทปลอม เราก็จะดาวน์โหลดโปรแกรม ที่เป็นอันตรายมาลงที่อุปกรณ์ของเราทันที
เราจะหลีกเลี่ยงการหลอกลวง และโฆษณาปลอมได้อย่างไร ?
แฮกเกอร์จะโพสต์โฆษณาอ้างว่าให้การรักษา หรือมีการรักษาโรค Coronavirus ในโฆษณามักจะพยายามสร้างความรู้สึกเร่งด่วน เช่น “ซื้อตอนนี้ ของมีจำนวนจำกัด” เราอาจจะเจอการโจมตี หรือการหลอกลวงอย่างน้อยหนึ่งหรือสองอย่าง หากเราตอบโฆษณากลับไป เช่น เราอาจคลิกที่โฆษณา กลายเป็นดาวน์โหลดมัลแวร์ลงในอุปกรณ์ หรือเราอาจซื้อสินค้าแล้วได้รับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย หรือซื้อแต่ไม่ได้รับสินค้านั้น ๆ แต่ในขณะเดียวกัน กลายเป็นว่าเราส่งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และหมายเลขบัตรเครดิต ให้กับแฮกเกอร์ไปแล้ว
เคล็ดลับในการจดจำและหลีกเลี่ยง Email Phishing
วิธีการรับรู้และหลีกเลี่ยง Email Phishing ที่มีธีมแบบ Coronavirus เช่นเดียวกับ Email Phishing ประเภท อื่น ๆ ข้อความ Email มักจะพยายามหลอกให้คุณคลิกลิงก์ หรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถใช้เพื่อหลอกลวง หรือขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยหมั่นสังเกตอีเมล ดังนี้
- ระวังคำขอทาง Online สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ Email ที่มีชุดรูปแบบของ Coronavirus ที่ค้นหาข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลการเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของเรา คือการหลอกลวงแบบ Phishing หน่วยงานของรัฐที่ถูกกฎหมายจะไม่ขอข้อมูลนั้น ๆ อย่าตอบ Email ด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราเป็นอันขาด
- ตรวจสอบที่อยู่ Email หรือลิงค์ เราสามารถตรวจสอบลิงก์ได้โดยการวางเม้าส์เหนือ URL หรือ Address เพื่อดูว่ามันแสดงเป็น URL อะไร บางครั้งชัดเจนเลยว่า ที่อยู่เว็บนั้นไม่ถูกต้อง แต่แฮกเกอร์นั้นสามารถสร้างลิงก์ หรือ URL ที่มีลักษณะคล้ายกับเว็บของจริงได้ ดังนั้น เราต้องตรวจสอบ URL หรือ Address ให้ดี ๆ อย่าคลิกลิงก์ใน Email หากเราคิดว่าที่อยู่นั้นถูกต้องให้พิมพ์อีกครั้งในหน้าต่างเบราว์เซอร์ ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถลบ Email นั้นได้เลย
- ดูข้อผิดพลาดการสะกดและไวยากรณ์ต่างๆ หาก Email มีข้อผิดพลาดการสะกดเครื่องหมายวรรคตอนและไวยากรณ์ หรือแทนที่จะใช้ข้อความเป็นทางการ แต่ใช้ข้อความเป็นคำพูด อาจจะเป็นไปได้ว่าเราได้รับ Email Phishing ก็ทำการลบ Email นั้นทิ้งไป
- มองหาคำทักทายทั่วไป Email หลอกลวงส่วนใหญ่จะไม่ใช้ชื่อของเรานำหน้า ส่วนใหญ่จะเป็นคำทักทายง่ายๆ เช่น “Dear Sir or Madam” เป็นสัญญาณว่าอาจจะเป็น Email Phishing เราควรอ่านเนื้อหาข้อความให้ละเอียด หากไม่เกี่ยวข้อง ให้ลบ Email นั้นทิ้งทันที
- หลีกเลี่ยง Email ที่ยืนยันว่าจะให้เราทำขั้นตอนต่าง ๆ ตอนนี้ทันที Email หลอกลวงมักจะพยายามสร้างสถานการณ์ และความรู้สึกเร่งด่วน หรือต้องการให้ดำเนินการในทันที เป้าหมายคือให้เราคลิกที่ลิงก์ และให้ข้อมูลส่วนบุคคลง
เราจะหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Coronavirus ได้จากที่ไหน ?
สำหรับประเทศไทยสามารถติดตามข้อมูลได้จากสื่อต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้ และข้อมูลจากเว็ปไซต์ ของทางราชการ เช่น
https://covid19.ddc.moph.go.th/th
https://covid19.ddc.moph.go.th/th/self_screening
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
http://covid-center.hss.moph.go.th/
หากไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้ หรือ Email ที่ได้รับนั้นถูกต้อง เราไม่ควรเปิดดู เข้าไปกดลิงก์ หรือดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ ที่แนบมากับ Email ที่ไม่รู้จักเป็นอันขาด เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ และข้อมูลส่วนบุคคลของ ซึ่งในการใช้งานเว็บไซด์ เราก็ควรจะต้องตรวจสอบ URL หรือ Address ให้ดีก่อนที่จะใช้งาน หากรู้ว่า URL หรือ Address ที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร เราควรจะพิมพ์เองเพื่อความปลอดภัย ดีกว่าการกดลิงก์ที่แนบมาให้เราก็สามารถป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อของ Phishing ได้
อ้างอิง : https://us.norton.com/internetsecurity-online-scams-coronavirus-phishing-scams.html
เรียบเรียง นายบรรณศักดิ์ ยุวมิตร
บทความที่เกี่ยวข้อง