สถิติภัยคุกคามครึ่งปีแรก 2022 จากศูนย์ CSOC ของ NT cyfence
26 กันยายน 2022
กว่าครึ่งปี 2022 ที่ผ่านมาพบว่าข่าวภัยคุกคามทางไซเบอร์ ยังคงเป็นข่าวและสร้างความเสียหายอยู่เป็นระยะ ทีมงาน NT cyfence ขอนำข้อมูลจากการรวบรวมสถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศ ตั้งแต่ ม.ค. – มิ.ย. 2022 จากศูนย์ปฏิบัติการ Cyber Security Operation Center (CSOC) ของ NT cyfence โดยมีข้อมูลสรุปดังต่อไปนี้
4 อันดับภัยคุกคามแบ่งตามประเภท Incident
1.Malicious Code 74%
จากสถิติภัยคุกคาม พบการโจมตีด้วยโปรแกรมไม่พึงประสงค์ ภัยคุกคามชนิดนี้ยังคงเป็นการโจมตีอันดับหนึ่งเหมือนปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากพนักงานในองค์กรขาดความตระหนักด้าน Cybersecurity ส่งผลให้อาจเผลอดาวน์โหลดมัลแวร์เข้าสู่ระบบจนทำให้ระบบสารสนเทศเกิดความเสียหาย เช่น ถูกเรียกค่าไถ่ข้อมูล ไฟล์ข้อมูลรั่วไหล ไปจนถึงใช้งานระบบไม่ได้ เป็นต้น
2.Availability 19%
การโจมตีสภาพความพร้อมใช้งานของระบบ ทำให้ระบบเกิดความล่าช้าในการให้บริการ หรือไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งตัวอย่างของภัยคุกคามในรูปแบบนี้ ได้แก่ DDoS (Distributed Denial of Service) Attack คือ การที่ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เครื่องมือเพื่อสร้างปริมาณ Traffic/Packet ที่ผิดปกติส่งเข้ามาก่อกวนในระบบ Network (Flood Network) จนส่งผลกระทบให้ระบบตอบสนองได้ช้าลงหรือหยุดทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเข้าถึงเครื่องดังกล่าว และใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตี ส่วนใหญ่เริ่มมาจากการติดมัลแวร์ และถูก compromised ผ่านช่องโหว่ (Vulnerability)
3.Intrusion Attempt 5%
การพยายามบุกรุกเข้าระบบ รวมถึงบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเข้ามาควบคุม ตัวอย่างของภัยคุกคามในรูปแบบนี้ ได้แก่ Web exploit, SQL-injection, Crossite script และ Brute-force password สาเหตุหลักมาจากผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามค้นหาช่องโหว่ของระบบ และทดสอบการเข้าถึงระบบ ด้วยเครื่องมือ วิธีการต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ
4.Information Garthering 2%
พฤติกรรมการพยายาม Scan และกวาดหาข้อมูลของระบบ เพื่อเก็บข้อมูลของเป้าหมาย อาจจะใช้เครื่องเฉพาะเจาะจงในการค้นหาข้อมูลเป้าหมาย หรือเก็บข้อมูลที่ถูกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลสมัครงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตก็ถือว่าสามารถทำให้แฮกเกอร์นำไปต่อยอดในการใช้โจมตีได้ในอนาคตเช่นกัน
Top 5 ประเทศต้นทางที่มีพฤติกรรมพยายาม Exploit Vulnerability
สถิติ 5 ประเทศที่พยายาม Exploit Vulnerability เรียงลำดับ ดังนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ไทย เนเธอร์แลนด์ ซึ่งน่าตกใจที่ปีนี้มีการโจมตีจากภายในประเทศด้วย
Top 5 ประเทศต้นทางที่มีพฤติกรรมพยายาม Login Attempt
สถิติประเทศที่พยายามบุกรุกระบบ 5 อันดับ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ไทย เวียดนาม อินเดีย
Top 5 ประเภท Malicious Code
สำหรับ Malicious Code ที่เป็นภัยคุกคามอันดับ 1 นั้น ศูนย์ปฏิบัติการ Cyber Security Operation Center (CSOC) ของ NT cyfence ได้รวบรวมข้อมูลพบว่าแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Mal?HTMLGen-A และ Mal ∕ HTMLGen-A 6%
เป็นมัลแวร์ที่ถูกตรวจพบเมื่อผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ไม่ปลอดภัย ซึ่งเว็ปไซต์ดังกล่าวสั่งการให้ web browser run java script ที่ผิดปกติ หรือจากการที่ผู้ใช้งานมีการติดตั้ง browser plug-in ที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดย Anti-virus ตรวจจับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ เมื่อมีการเข้าถึงหรือใช้งาน web-site
2. JS/Agent.NDSW!tr 4%
เป็นโทรจันทั่วไปที่แฮกเกอร์ใช้ฝังที่เครื่องของเหยื่อเพื่อเป็นช่องทางแพร่กระจายมัลแวร์ต่าง ๆ สำหรับขโมยข้อมูลสำคัญหรือติดตั้ง Ransomware ไวรัสอื่น ๆ โดยทั่วไปแฮกเกอร์จะนำมัลแวร์ไปติดตั้งยังเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยและเมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดข้อมูลหรือเข้าเว็บไซต์ดังกล่าว ก็อาจถูกมัลแวร์
ส่วนใหญ่เกิดจากการดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย และแฮกเกอร์จะนำมัลแวร์ตัวนี้ไปปล่อย แทนที่จะได้ดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการกลับได้มัลแวร์มาเป็นของแถมด้วย
3. backdoor: Sality.Botnet 3%
เป็นมัลแวร์ที่แฮกเกอร์ใช้ฝังที่เครื่องเหยื่อเพื่อควบคุมจากระยะไกล (Remote) หรือใช้เป็นช่องทางในการเข้าติดตั้งมัลแวร์ชนิดอื่นๆ ด้วยความที่มัลแวร์ตัวนี้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เหมาะสมกับแต่ละระบบคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้เป็นหนึ่งในมัลแวร์อันตรายที่สุดในปัจจุบัน
4. HEUR:Trojan.Win32.Generic 3%
เป็นโทรจันที่มีลักษณะคล้าย JS/Agent.NDSW!tr ในข้อ 2 โดยมักจะพบในไฟล์ดาวน์โหลดของเว็บไซต์อันตรายรวมถึง Pop-up โฆษณาต่าง ๆ ซึ่งโทรจันเหล่านี้สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลธุรกรรมการเงินได้
5. MEM:Trojan.Win32.SEPEH.gen 3%
เป็น malware ประเภท trojan ที่จะฝังตัวอยู่ใน memory มีความสามารถที่หลากหลาย เช่น
- ขโมยไฟล์
- Copy text
- Take screenshot
- Read and Write files
- Delete files
- บันทึก keystroke บน computer
- Monitor web cam หรือ microphone
- Disable antivirus
- ติดตั้ง malware อื่น
พฤติกรรมของ Malware ชนิดนี้จะพยายามเพิ่มสิทธิของตัวเองในระบบให้เป็น Administrator และทำการ Disable โปรแกรม Antivirus โดย Malware จะซ่อนตัวอยู่ในระบบเพื่อ run malicious activities ต่าง ๆ ซึ่งช่องทางการแพร่กระจาย malware ชนิดนี้มีหลากหลายช่องทาง เช่น malicious email attachment, โปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดจาก website ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือการใช้งานโปรแกรมที่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ข้อมูลสถิติข้างต้นเกิดขึ้นในเดือน ม.ค. – มิ.ย. 2022 จะพบว่ามีการโจมตีจากภายในประเทศมากขึ้น ส่วนประเภทของภัยคุกคามนั้นยังไม่เปลี่ยนไปมากหากเทียบกับภัยคุกคามปีที่ผ่านมา แต่สำหรับผู้ที่ทำการป้องกัน การมองย้อนไปข้างหลัง ก็สามารถช่วยให้ระมัดระวังในการเดินไปข้างหน้าและเตรียมพร้อมรับมือกับภัยต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม หากองค์กรของท่านต้องการเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Cybersecurity หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ทาง https://www.cyfence.com/contact-us/ หรือโทร 1888 ทีมงาน NT cyfence พร้อมแนะนำ และให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยสารสนเทศอย่างครบวงจร
บทความที่เกี่ยวข้อง